10 วิธีปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับ Google วิธีปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามหลัก SEO

วิธีปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามหลัก SEO

ในยุคดิจิทัล การมีเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจ เพราะเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ สินค้า บริการ และเรื่องราวของคุณผ่าน Google และเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ เว็บไซต์เป็นเสมือนหน้าบ้านออนไลน์ของธุรกิจที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ บน Google การทำ SEO จำเป็นต้องคำนึงถึงสามส่วนหลัก ได้แก่

  1. On-page SEO การปรับแต่งเนื้อหา ชื่อหัวเรื่อง คำอธิบาย รูปภาพ ข้อความ และลิ้งค์ต่าง ๆ ในหน้าเว็บไซต์
  2. Off-page SEO ปัจจัยภายนอกที่เชื่อมโยงเข้ามาที่เว็บไซต์ เช่น Backlink, Social Media Profile, Forum, และ Webboard
  3. Technical SEO การปรับแต่งเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับโครงสร้างของเว็บไซต์

บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ On-page SEO เป็นหลัก พร้อมกับบางปัจจัยในส่วนของ Technical SEO ที่เกี่ยวข้องกัน

อะไรคือ On-page SEO

On-page SEO คือ กระบวนการปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์ประกอบต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของเครื่องมือค้นหา เช่น Google และช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสติดอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา ซึ่ง ส่วนประกอบของ on-page seo  มีดังนี้

  1. Content (เนื้อหา) การเขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่ต้องการเป้าหมาย การใช้คำสำคัญ (Keywords) อย่างเหมาะสม วิธีหา Keyword Research สำหรับทำ SEO
  2. Title Tag (แท็กหัวเรื่อง) การตั้งชื่อหัวเรื่องของหน้าเว็บให้ตรงกับเนื้อหาและน่าสนใจ
  3. Meta Description (คำอธิบายหน้าเว็บ) การเขียนคำอธิบายสั้น ๆ ที่บอกให้ผู้ใช้ทราบว่าเนื้อหาของหน้าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไร
  4. Headings (หัวข้อ) การใช้หัวข้อหลัก (H1) และหัวข้อรอง (H2, H3, ฯลฯ) เพื่อจัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นระบบ
  5. URL Structure (โครงสร้าง URL) การใช้ URL ที่สื่อถึงเนื้อหาและมีคำสำคัญอยู่ในนั้น
  6. Internal Linking (การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์) การเชื่อมโยงหน้าเว็บภายในเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
  7. Image Optimization (การเพิ่มประสิทธิภาพของรูปภาพ) การใช้ชื่อไฟล์รูปภาพและคำอธิบายรูปภาพ (Alt Text) ที่สื่อถึงเนื้อหา รวมถึงการลดขนาดไฟล์เพื่อให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น
  8. Mobile-Friendliness (ความเป็นมิตรกับมือถือ) การปรับแต่งเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานได้ดีบนอุปกรณ์มือถือ
  9. Page Load Speed (ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ) การเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บเพื่อลดอัตราการละทิ้งเว็บไซต์

On-page SEO มีความสำคัญมากเพราะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์และเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อผู้เยี่ยมชมและลูกค้า การปรับแต่ง On-page SEO ช่วยเพิ่มการดึงดูดผู้เข้าชม ส่งผลดีต่อธุรกิจในด้านการสร้างยอดขาย การติดต่อ และความน่าเชื่อถือ หากปรับแต่ง On-page SEO อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ บน Google โดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการทำ SEM เช่น การซื้อโฆษณา Google AdWords

10 เทคนิคทำ On-page SEO ให้ดีจนติดอันดับ

1.องค์ประกอบด้านคอนเทนต์ (Content) คืออะไร

องค์ประกอบด้านคอนเทนต์หมายถึงเนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งการปรับแต่งให้คอนเทนต์มีคุณภาพสูงสุด (Quality Content) จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับผู้เยี่ยมชม และ Google จะจดจำเว็บไซต์ของคุณว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้อันดับของเว็บไซต์ดีขึ้นนั่นเอง

คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ (Quality Content)

การทำคอนเทนต์คือหัวใจหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำ On-page SEO เลยก็ว่าได้เพราะการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพนั้น จะเป็นส่วนที่ช่วยให้ Google และผู้เข้าชมเว็บไซต์ รู้ได้ว่าเว็บของเราคือเว็บอะไร โดยขั้นตอนแรกนั้น เราต้องค้นหา คำค้นหาหลัก (Keyword Resarch) กันก่อนว่าเรื่องที่เราจะทำนั้น มีคำค้นหาหลัก และคำค้นหาที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาก็มีหลากหลายให้เลือก แล้วแต่ความถนัดและความต้องการของแต่ละคนว่าต้องการหาในแนวไหนบ้าง เช่น Ahrefs, Google Keyword Planner, UberSuggest เป็นต้น

เมื่อคุณหาคำหลักที่มีการคัดกรอง เปรียบเทียบจากหลายๆ ส่วนทั้งคู่แข่งและเว็บไซต์เครื่องมือต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้นำมาวิเคราะห์ดูความเชื่อมโยงกันว่า พฤติกรรมของผู้ชมเว็บไซต์นั้นเป็นยังไงเพื่อที่จะได้วางแผนการทำคอนเทนต์ให้มีประโยชน์กับการใช้งานของผู้เข้าชมมากที่สุด 

  • การสร้างการรับรู้ (Awareness)

การสร้างการรับรู้คือขั้นตอนแรกในกระบวนการซื้อสินค้าหรือบริการ ในขั้นตอนนี้ ผู้บริโภคจะได้รู้จักแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่พวกเขาไม่เคยรู้จักมาก่อน หรือไม่เคยพิจารณามาก่อน การสร้างการรับรู้นี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ การใช้โซเชียลมีเดีย การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และการใช้ผู้มีอิทธิพล (Influencers) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักและจดจำแบรนด์ของคุณ

  • การพิจารณา (Consideration)

ในขั้นตอนการพิจารณา ผู้บริโภคเริ่มมีความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม พวกเขาจะเริ่มเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ ในตลาด ขั้นตอนนี้สำคัญมากในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณเหมาะสมกับความต้องการของพวกเขาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลเชิงลึก การรีวิวจากลูกค้า การให้คำแนะนำและการตอบคำถาม

  • การตัดสินใจ (Decision)

ในขั้นตอนการตัดสินใจ ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของคุณ หรือจากแบรนด์อื่นๆ การให้ประสบการณ์การซื้อที่ดี การมีโปรโมชั่นพิเศษ หรือการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมสามารถช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกแบรนด์ของคุณได้ นอกจากนี้ การทำให้กระบวนการซื้อสะดวกสบายและรวดเร็ว เช่น การให้บริการชำระเงินที่หลากหลายและการจัดส่งที่รวดเร็ว ก็เป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ

เทคนิคทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ

  • ใช้คำค้นหาแบบ Short-tail และ Long-tail ผสานกัน เพื่อให้ได้ Conversion  สูง สามารถเพิ่มอันดับได้มากขึ้น
  • ทำคอนเทนต์ที่อ่านง่าย และมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์นานขึ้น
  • สร้างคอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าได้รายละเอียดสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • สร้างคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาในการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์ 
  • เพิ่มปุ่ม CTA หรือ ข้อความ  ไว้ในหน้าต่างๆ เช่นหน้าติดต่อเรา หรือสินค้าบริการ

2.ชื่อหัวเรื่องหน้าเว็บไซต์ (Page Titles / Title Tags)

การที่เราจะบอกผู้เข้าชมเว็บไซต์ว่า สิ่งที่เค้ากำลังจะได้อ่านมันเกี่ยวข้องกับอะไร ก็คือการตั้งชื่อหัวเรื่องในหน้าเว็บไซต์ ซึ่งชื่อหัวเรื่องจะต้องมีคำหลักในการค้นหาที่ชัดเจน บวกกับมีคำเฉพาะที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง หรือผสานกันเพื่อให้เกิดเป็นคำถาม หรือ ประโยคเฉพาะ ที่แสดงถึงคำค้นหาหลักนั่นเอง ถ้าคุณสามารถตั้งชื่อหัวเรื่องได้ดีก็จะสามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ ได้ โดยเทคนิคการเขียนหัวเรื่องเว็บไซต์ให้ดีมีดังต่อไปนี้ 

 

  • มีความยาวที่เหมาะสม ควรเขียนไม่ให้เกิน 60 ตัวอักษรจะช่วยให้ประโยคที่เหลือไม่ต้องถูกตัดออกตอนแสดงผลในการค้นหา
  • ชื่อของหัวเรื่องจะต้องเกี่ยวข้องกันกับหน้าที่ทำคอนเทนต์
  • เทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษต้องใช้ตัวอักษรใหญ่นำหน้าและตามด้วยตัวเล็ก
  • ใส่ชื่อแบรนด์เข้าไปที่หัวเรื่องด้วยทุกครั้ง เช่น “รับทำ SEO เห็นผลทันที | Go Goal Agency”
  • ใส่คีย์เวิร์ดแบบพอประมานไม่ควรใส่เยอะเกินไปเพราะจะถูกมองว่าเป็นสแปมไม่น่าเชื่อถือ

3. ส่วนหัว หรือ Header

ส่วนหัวที่แสดงชื่อหัวข้อ ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยทำให้คอนเทนต์เป็นระเบียบเข้าใจได้ง่าย และผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการได้สะดวก โดยส่วนหัว หรือ Header นั้นมีตั้งแต่<H1>, <H2>, <H3> ไปจนถึง <H6> เราสามรถแบ่งหัวข้อออกเป็นหัวข้อย่อยได้อีก ส่วนแสดงชื่อหัวข้อนั้น ควรมีคีย์เวิร์ดที่เราต้องการให้แสดงอยู่ รวมไปถึงการใส่คำเฉพาะเจาะจงเพื่อให้แสดงถึงการพูดถึงคีย์เวิร์ดที่สำคัญในรูปแบบต่างๆ ด้วย 



4.คำอธิบายหน้าเว็บไซต์ (Meta Descriptions)

คือการอธิบายภาพรวมของหน้าเว็บไซต์ที่จะแสดงเมื่อมีผู้ใช้งานค้นหา เทคนิคในการเขียนคำอธิบายหน้าเว็บไซต์มีดังนี้ 

  • ไม่ควรเขียน Meta Description เกิน 160 ตัวอักษร
  • ใส่คำค้นหาหลักแบบเฉพาะเจาะจงในประโยคและขยายด้วยวลีให้กว้างมากขึ้น 
  • เขียนให้มีความดึงดูดใจเพื่อเพิ่มการคลิก
  • พยายามที่จะไม่ใช้อักขระใน Meta Description  

5.คำอธิบายรูปภาพ (Image Alt-text)

คำอธิบายรูปภาพหรือ Image Alt-text เป็นข้อความที่ใช้ในการบรรยายรูปภาพในเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถดูรูปภาพได้รู้ว่ารูปภาพนั้นเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ยังช่วยให้เครื่องมือค้นหาสามารถเข้าใจและจัดอันดับเว็บไซต์ได้ดีขึ้น การเขียนคำอธิบายรูปภาพควรมีความชัดเจนและกระชับ ควรบรรยายเนื้อหาของรูปภาพและรวมคำสำคัญ (keywords) ที่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย แต่ไม่ควรเป็นการยัดคำสำคัญจนเกินไป เทคนิคการเขียนคำอธิบายรูปภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น 

  • เขียนอธิบายแบบเจาะจง เช่น “รับทำ SEO สำหรับธุรกิจออนไลน์โดยตรง”
  • เขียนให้เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์และสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาใกล้เคียงกันได้ เช่น “ทำ SEO ติดหน้าหนึ่งได้ เทคนิคการตลาดออนไลน์ 2024”
  • การเขียนคำอธิบายรูปภาพไม่ควรเขียนเกิน 125 ตัวอักษร
  • ไม่เขียนคำหลักซ้ำๆ เยอะๆ แต่เขียนคำหลักคำเดียวและใช้คำขยายที่จูงใจให้น่าคลิกเข้ามาอ่านแทน 

6. โครงสร้างข้อมูล (Structured Markup)

 

คือการระบุข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้บอท Google เข้าใจ เกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น Structured Markup นี้สำคัญมากในการปรากฏใน Featured Snippets อันดับแรกสุดของผลการค้นหาและ Knowledge Panels กรอบข้อมูลความรู้ด้านขวาของหน้าผลการค้นหา การใช้ Structured Markup ถือเป็นการปรับแต่งเชิงเทคนิค (Technical SEO) ในที่นี้จะไม่ได้ลงรายละเอียดลึก แต่ก็ช่วยให้เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำ On-page SEO อย่างมาก 

7. ที่อยู่เว็บไซต์ (Page URLs)

URLs หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ควรจะง่ายต่อการค้นหาทั้งผู้อ่านและเครื่องมือค้นหา (Search Engines) Page URLs มีความสำคัญมากในการวางโครงสร้างของหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ เมื่อคุณมีหลายหน้าและหลายเมนู คุณจำเป็นต้องจัดระเบียบให้ดีและใช้ชื่อที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังมีเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้ Page URLs มีประสิทธิภาพมากขึ้นดังนี้:

  • ไม่ใช้อักขระพิเศษหรือคำที่ไม่จำเป็น
  • ใช้ Keywords เพียงคำหรือสองคำที่เฉพาะเจาะจงให้เข้ากับเนื้อหา
  • อย่าลืมใช้ https เพื่อความปลอดภัยและช่วยให้ Google ส่งเว็บไซต์คุณติดอันดับได้ดีขึ้น

8.ลิงค์ภายใน (Internal Linking)

การสร้างลิงค์ภายใน คือการใส่ลิงค์ภายในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหน้าอื่นๆ ภายในเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น การทำลิงค์ภายในมีความสำคัญมากต่อการทำ On-page SEO เพราะมันช่วยให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพและมีประโยชน์ ยิ่งผู้อ่านใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อการจัดอันดับของ Google มากเท่านั้น

การทำลิงค์ภายในที่ดีจะช่วย:

  • เพิ่มเวลาในการใช้งานเว็บไซต์: ทำให้ผู้อ่านอยู่ในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น โดยการชี้นำไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ
  • ปรับปรุงการนำทางในเว็บไซต์: ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว
  • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดอันดับ SEO: ทำให้ Google มองเห็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่ชัดเจนและเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณมีความครอบคลุมในเนื้อหาที่เสนอ

9.การรองรับการทำงานบนหน้าจออุปกรณ์มือถือ (Mobile Responsiveness)

ในยุคปัจจุบัน การทำให้เว็บไซต์รองรับการแสดงผลบนมือถือเป็นสิ่งสำคัญมาก Google ให้ความสำคัญกับการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้แสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์มือถือ หากเว็บไซต์ของคุณไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ คุณอาจพลาดโอกาสในการจัดอันดับที่ดีบน Google และทำให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ไม่ดี

การปรับแต่งเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานบนมือถือมีข้อสำคัญดังนี้:

  • การอ่านง่าย: ตัวหนังสือควรมีขนาดใหญ่พอที่จะอ่านได้โดยไม่ต้องขยายหน้าจอ
  • การจัดการเมนู: เมนูควรจัดเรียงอย่างเหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยการสัมผัส
  • การวางเลย์เอ้าท์: การจัดวางองค์ประกอบของหน้าเว็บควรทำให้ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน

10.ความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)

หนึ่งในวิธีการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานและเพิ่มโอกาสในการติดอันดับต้นๆ บน Google คือการให้ความสำคัญกับความรวดเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ ทั้งบนคอมพิวเตอร์และมือถือ ความเร็วของเว็บไซต์มีผลต่ออัตรา Conversion และ ROI อย่างมาก หากเว็บไซต์โหลดช้า ผู้ใช้งานอาจเลือกออกจากเว็บไซต์และไม่กลับมาอีก ดังนั้น ความเร็วของเว็บไซต์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้ความเร็วเว็บไซต์เพิ่มขึ้น ได้แก่:

  • ลด/ปรับขนาดภาพ: ทำให้ภาพมีขนาดเล็กลงและเหมาะสมเพื่อไม่ให้ใช้เวลาในการโหลดนาน
  • ลบปลั๊กอินที่ทำงานช้า: หรือใช้งานปลั๊กอินที่ทำงานได้ดีกว่าแทน
  • ใส่ข้อมูลจากเว็บภายนอกให้น้อยที่สุด: ลดการโหลดข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่จำเป็น
  • ลดขนาดของ CSS, JavaScript และ HTML: เพื่อให้ไฟล์เหล่านี้โหลดได้รวดเร็วขึ้น
  • เก็บ Cache ใน Browser: เพื่อลดเวลาในการโหลดหน้าเว็บที่เคยเปิดมาก่อน
  • ลง Caching plugin: เพื่อให้เว็บไม่ต้องโหลดทุกครั้งที่มีการเข้าชมใหม่
  • ลดขนาดของโค้ดลง: ทำให้โค้ดเรียบง่ายและมีขนาดเล็กลง
  • ใช้ CDN (Content Delivery Network): การโหลดข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลด 

และนี่ก็คือ 10 เทคนิค ปรับแต่ง On-page SEO ที่จะช่วยให้คุณสามารถทำอันดับหน้าเว็บไซต์ให้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน การให้ความสำคัญกับการทำ On-page SEO จะสามารถเตรียมความพร้อมเว็บไซต์สำหรับทำการตลาดออนไลน์ด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย 



ร่วมงานกับเรา เพื่อผลักดันให้องค์กรของคุณเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น Go Goal Agency

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

ควบคุมลิงก์ Title ของคุณในผลการค้นหา : https://developers.google.com/search/docs/appearance/title-link?hl=th

Keyword Research : https://moz.com/beginners-guide-to-seo/keyword-research

SEO Basics: Beginner’s Guide to SEO Success : https://ahrefs.com/blog/seo-basics/

What is Search Experience Optimization (SXO)? : https://yoast.com/what-is-search-experience-optimization-sxo/

FAQs

เป้าหมายของ SEO คือการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับสูงสุดในผลการค้นหาเมื่อผู้ใช้ค้นหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้อง

เพราะเป็นการปรับแต่งองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา โครงสร้าง และการใช้คำสำคัญให้มีประสิทธิภาพ

การเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ การใช้หัวข้อและแท็กหัวเรื่อง (H1, H2, H3) เพื่อจัดระเบียบเนื้อหา และการสร้างเนื้อหาที่มีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ

การเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์สามารถทำได้โดยการลดขนาดของไฟล์ภาพ ลบปลั๊กอินที่ไม่จำเป็น ลดขนาดของ CSS, JavaScript และ HTML ใช้เทคโนโลยีการโหลดแบบ Lazy Loading และการใช้ CDN (Content Delivery Network) เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลด

การใช้ลิงก์ภายในช่วยเพิ่มเวลาในการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้ ทำให้เว็บไซต์มีโครงสร้างที่ชัดเจนและเป็นระบบ นอกจากนี้ยังช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาต่างๆ ในเว็บไซต์ของคุณได้ดีขึ้น ส่งผลให้การจัดอันดับ SEO ของเว็บไซต์ดีขึ้น